สมาชิกใหม่ ครอบครัวเสือขาว

เสือขาว หรือเสือโคร่งขาว (White Bengal Tiger) จัดเป็นเสือโคร่งเบงกอล ที่มีขนสีขาวลายสีเข้ม ขนสีขาวเกิดจากการขาดเม็ดสีแดงและเหลือง เม็ดสีนี้ทำให้เสือมีสีส้มซึ่งปกติจะมีอยู่ในเสือโคร่งทั่วไป
แต่เสือขาวไม่ใช่สัตว์เผือก (Albino)

ลักษณะของเสือขาว

เสือขาวมีนัยย์ตาสีฟ้า บางตัวอาจมีตาสีเขียว สีเหลืองอำพัน จมูกสีชมพู ส่วนมากจะตัวใหญ่กว่า หนักกว่า เติบโตเร็วกว่าเสือโคร่งปกติ นอกจากนี้ลูกแรกเกิดของเสือขาวก็มีแนวโน้มตัวใหญ่กว่าด้วย เสือขาวเพศผู้จะโตเต็มที่เมื่อมีอายุ 2-3 ปี น้ำหนัก 200-230 กิโลกรัม ความยาว 3 เมตร และก็เหมือนเสือโคร่งทั่วไป ลายของเสือขาวแต่ละตัวจะมีรูปแบบลายไม่ซ้ำกัน ลายที่เราเห็นเป็นลายที่อยู่ในชั้นของผิวหนังแม้จะโกนขนออก ลายก็ยังคงอยู่บนหนังเสือ

แม้ว่าเสือขาวเป็นเสือที่หาได้ยากมากในธรรมชาติ ปัจจุบันยังมีรายงานการพบเสือขาวในป่าของอินเดียเป็นระยะๆ
เสือขาวส่วนมากจะได้รับการเลี้ยงดูและขยายพันธุ์ในสวนสัตว์ต่างๆ

Image
  • ฝูงจระเข้น้ำจืดและจระเข้น้ำเค็มนับพันอาศัยอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันร่มรื่น

  • ปลาบึก ปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถ้าโตเต็มที่จะมีน้ำหนักมากถึง 500 ก.ก.
    (ปลาบึกในอุทยานหินล้านปีและฟาร์มจระเข้พัทยามีน้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 100 ก.ก.)

  • ฝูงปลาช่อนแห่งแม่น้ำอเมซอน

  • ปลาเทพา ปลาสวยงามที่ใกล้สูญพันธุ์

  • ช้าง อูฐ เสือ เสือขาว หมี และกวางนานาชนิด

  • หมีขาวแสนรู้และสัตว์อื่นๆ ที่มีสีขาว เช่น ม้า วัว จระเข้

  • นกกระเรียน นกอีมู นกคาสโซวารี่ และนกกระจอกเทศกว่า 20 ตัว
Image

แวะมาเยี่ยมเรา วัยใส ผู้น่ารัก

Image

“หมอจระเข้”

“หมอจระเข้”

กำเนิดยีราฟในฟาร์มของเรา

น้องโกโก้ ลูกม้าไทย

Image

พวกเราให้กำเนิดสมาชิกใหม่นานาชนิดมากมาย

ปลาบึก

ปลาบึก เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ ไม่มีเกล็ด สามารถโตได้ถึง 3 เมตร และหนัก 150-200 กิโลกรัม หรืออาจจะมากกว่านั้น ปลาบึกได้รับฉายาว่า "ราชินีแห่งแม่น้ำโขง" เพราะมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแม่น้ำโขง ชอบบริเวณแม่น้ำที่มีความลึกมากกว่า 10 เมตร พื้นท้องน้ำเป็นกรวดและมีเพิงหินหรือถ้ำใต้น้ำ เป็นปลาที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากการจับปลามากเกินไป คุณภาพน้ำที่แย่ลงจากการพัฒนาและการสร้างเขื่อนบริเวณต้นน้ำ

ปลาบึกมีนิสัยรักสงบ ตื่นตกใจง่าย ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณเขตน้ำลึกที่มีกระแสน้ำไหล อาหารของปลาบึกในธรรมชาติคือพืชชนิดต่างๆ เช่น ตะไคร่น้ำ สาหร่ายที่ขึ้นอยู่ตามก้อนหินใต้น้ำ

เนื้อปลาบึกมีราคาซื้อขายที่แพง เนื่องจากเป็นปลาที่ไม่ได้มีการเพาะเลี้ยง ได้มาจากการจับในฤดูกาลเท่านั้น และยังมีความเชื่ออีกว่าเมื่อได้รับประทานเนื้อปลาบึกแล้วจะมีอายุยืนยาว เนื้อของปลาบึกนั้นจะมีลักษณะคล้ายกับหมูสามชั้น มีชั้นของหนัง, ไขมัน และเนื้อ และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย

อุทยานหินล้านปีและฟาร์มจระเข้พัทยาได้เล็งเห็นถึงความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของปลาบึก จึงนำมาเพาะเลี้ยงที่นี่จำนวนมาก เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้าชมและสัมผัสชีวิตของปลาบึก อุทยานหินล้านปีและฟาร์มจระเข้พัทยาจึงเป็นที่เที่ยวในพัทยาอีกแห่งหนึ่งที่ไม่ควรพลาด

ปลาเทพา

นอกจากปลาบึก “ราชินีแห่งลุ่มแม่น้ำโขง” แล้ว อุทยานหินล้านปีและฟาร์มจระเข้พัทยายังเพาะเลี้ยงปลาเทพาหรือ “เจ้าแห่งแม่น้ำเจ้าพระยา” อีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันหาได้ยากมากในแหล่งน้ำธรรมชาติ เนื่องจากการทำประมงเกินขนาดและมลพิษทางน้ำ เช่นเดียวกับปลาบึก

ปลาเทพา หรือที่ในภาษาอีสานเรียกว่า ปลาเลิม เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ ไม่มีเกล็ด ปากกว้าง เป็นปลากินเนื้อ พบเฉพาะในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำโขงเท่านั้น

ปลาเทพาได้รับฉายาว่า "เจ้าแห่งแม่น้ำเจ้าพระยา" เนื่องจากเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในลุ่มแม่น้ำสายนี้ โดยเมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 1–1.25 เมตร ขนาดใหญ่สุดพบยาวกว่า 3 เมตร และมีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม ทั้งยังมีลักษณะโดดเด่นตรงที่มีก้านครีบขนาดใหญ่และปลายครีบเป็นเส้นยาว เวลาว่ายน้ำจะตั้งชันเหมือนครีบปลาฉลาม ทำให้ปลาชนิดนี้ดูสง่างามกว่าปลาชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน

ปลาเทพามีนิสัยรักสงบ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ปกติจะว่ายน้ำตลอดเวลา ชอบน้ำที่ใสสะอาดมีการไหลเวียนอย่างดี ปลาวัยอ่อนกินปลาเล็กเป็นอาหาร ปลาวัยโตกินซากสัตว์อื่นและปลาเล็ก

เนื้อปลาเทพามักถูกนำมาขายแทนเนื้อปลาบึก ซึ่งหายากและมีราคาแพงกว่า แต่เป็นปลาที่มีกลิ่นคาวจัด นอกจากนี้แล้วยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นปลาเทพาพิการที่ลำตัวสั้นกว่าปกติจะมีราคาสูงมาก

มาพักผ่อนหย่อนใจ ชมปลาเทพาและสัตว์นานาชนิด รวมทั้งพรรณไม้และหินรูปร่างแปลกตาต่างๆ กับอุทยานหินล้านปีและฟาร์มจระเข้พัทยา สถานที่ท่องเที่ยวในพัทยาที่เหมาะกับทุกคนในครอบครัว

" นกกาบบัว " นกที่หายากในธรรมชาติ

นกกาบบัว (Painted Stork) เป็นนกขนาดใหญ่มาก ความยาวจากปลายปากถึงปลายหาง 100 - 102 ซม. ปากยาวตอนปลายปากมักมนและโค้งลงเล็กน้อย หัวเล็ก คอค่อนข้างยาวปีกกว้างและยาว หางสั้น ขายาว นกทั้งสองเพศสีสันคล้ายกัน นกที่เต็มวัยปากสีเหลือง ลำตัวสีขาวบริเวณปีกมีแถบสีชาวสลับดำอกและปลายปีกมีแถบสีดำขนโคนปีก ขนคลุมขนปีกแถวนอกและขนบริเวณตะโพกเป็นสีชมพูขอบขนแต่ละเส้นเป็นสีขาว ขนชมพูอมขาวนี้ยาออกไปจนถึงตะโพกและหามองดูเผินๆคล้ายกับว่าใครเอาสีชมพูสดๆมาแต่งแต้มไว้
ปัจจุบัน "นกกาบบัว" เป็นนกที่หาได้ยากมากๆ ในธรรมชาติเพราะแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารถูกทำลายโดยมนุษย์ ทำให้นกกาบบัวต้องอพยพไปหาแหล่งที่อยู่ใหม่ และจะกลับมาแค่ฤดูผสมพันธุ์ พบเฉพาะทางภาคตะวันตก ภาคกลาง และ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือบางส่วน แต่จากการศึกษานกกาบบัว บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง พบการทำรังวางไข่บริเวณดังกล่าว ดังนั้น นกกาบบัว น่าจะกระจายพันธุ์ทางภาคใต้ได้ด้วย

" นกตะกรุม " นกใหญ่ที่ใกล้สูญพันธุ์

นกตะกรุม เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ที่ใกล้จะสูญพันธุ์จำเป็นต้องอนุรักษ์เอาไว้ เพราะเป็นตัวแปรที่บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ นกตะกรุมเป็นนกที่หาได้ยากมากในประเทศไทย เดิมเคยมีรายงานพบที่ จังหวัดศรีสะเกษ, ราชบุรี, ชุมพร, ตรัง, ประจวบคีรีขันธ์ และนราธิวาส

นกตะกรุมมีรูปร่างคล้ายคลึงกับนกตะกราม แต่มีขนาดเล็กกว่า และไม่มีถุงใต้คอ ขณะยืนมีความสูงบนหัวประมาณ 110 – 120 ซม. ความกว้างของปีกทั้งสองข้างประมาณ 210 ซม. ลำตัวด้านบนสีดำเหลือบเป็นมัน ใต้ท้องสีออกขาว มีจุดเด่น คือ ส่วนหัวและลำคอเป็นหนังสีเหลืองแกมแดง มีขนเป็นเส้นๆ ขึ้นกระจายอยู่ห่างๆ นกตะกรุม เป็นนกที่หากินสัตว์เล็กๆ ตามแหล่งน้ำเป็นอาหาร เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา มีพฤติกรรมทำรังบนยอดไม้สูง ตามป่าชายเลนหรือป่าริมน้ำร่วมกับนกตะกรามและนกกระทุง

" นกยูงไทย - นกยูงอินเดีย " ต่างกันอย่างไร

นกยูงไทยกับนกยูงอินเดีย มักถูกเรียกรวมๆว่า "นกยูง" แม้จะเป็นนกชนิดเดียวกันแต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง
"นกยูงไทย"หรือนกยูงสีเขียว จัดเป็นไก่ฟ้าขนาดใหญ่ที่พบในเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นญาติใกล้ชิดกับ"นกยูงอินเดีย" นกยูงไทยตัวผู้จะมีหงอนเป็นพู่สูงและมีแผ่นหนังที่หน้าสีฟ้าสลับสีเหลืองที่เห็นได้ชัดเจน ขนลำตัวมีสีเขียวเป็นประกาย ขนคุลมโคนหางยื่นออกมายาว มีสีเขียวและมีจุดดวงตากลมมีฟ้าและน้ำเงิน ส่วนนกยูงตัวเมียมีลักษณะทั่วไปคล้ายนกตัวผู้ แต่ขนสีเหลือบเขียวจะน้อยกว่า ขนคลุมหางก็สั้นกว่า
"นกยูงอินเดีย"หรือนกยูงสีน้ำเงิน จัดเป็นนกยูงชนิดหนึ่งที่กระจายพันธู์ในประเทศอินเดีย,เนปาล,บังกลาเทศ,ภูฏาน,ศรีลังกาและปากีสถานนกยูงอินเดียจะมีขนาดเล็กกว่านกยูงไทย แต่จะมีขนหงอนเป็นรูปพัด สีของผิวหนังบริเวณหน้าจะมีสีขาวและสีดำบริเวณตา ขนที่คอและลำดับเป็นสีน้ำเงิน

นกยูงทั้ง2ชนิดสามารถหาชมได้ตามสวนสัตว์ทั่วไป และที่ #อุทยานหินล้านปีและฟาร์มจระเข้พัทยา ก็มีนกยูงคอยให้บริการนักท่องเที่ยวได้รับชม

" นกแก้วมาคอร์ " ยักษ์ใหญ่แห่งโลกนกแก้ว

นกแก้วมาคอร์ เป็นนกแก้วที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เป็นนกที่รู้จักกันในนามยักษ์ใหญ่แห่งโลกนกแก้ว โดยมีความยาวเกือบ 40 นิ้ว หนักถึง 2 กิโลกรัม และเป็นนกที่มีอายุยืนยาว อายุขัยเฉลี่ย 30-50 ปี บางตัวอยู่ได้ถึง 80 ปี นกแก้วมาคอร์มีถิ่นกำเนิดในภาคใต้ของอเมริกาเหนือ (เม็กซิโก) รวมถึงอเมริกากลางและอเมริกาใต้
เมื่อ100 ปีก่อนนี้ ชนเผ่าพื้นเมืองอะเมซอนและนักเดินเรือสินค้า เริ่มจับลูกนกป่าออกมาขาย และนำมาเพาะพันธุ์ในกรงเลี้ยงได้สำเร็จ จนในปัจจุบันเป็นนกที่ได้รับความนิยมนำมาเลี้ยงมาก เพราะเป็นนกที่มีสีสันสวยงาม สีสด และฉูดฉาด ใครพบเห็นจะหลงเสน่ห์แทบทั้งสิ้น

นกเงือกนักปลูกป่า

“นกเงือกในไทย” ได้รับฉายา “นักปลูกป่า” ในระบบนิเวศทางธรรมชาติของบ้านเรา จากพฤติกรรมการกินผลไม้ที่หลากหลาย ซึ่งบางครั้ง “เมล็ดพันธุ์” ที่นกเงือกกักตุนไว้เป็นอาหารในปาก ก็มีการหลุดรอดลงสู่ผืนป่า ระหว่างการบินกลับมายังรังของตัวเอง ทำให้เป็นการกระจายเมล็ดพันธุ์ใหม่ ๆ จนเกิดการรักษาความหลากหลายของพันธุ์ไม้ในผืนป่าไปในตัว
นกเงือกกินลูกไม้ของต้นไม้ในสังคมป่าเขตร้อนมากกว่า 100 ชนิด ลองคิดดูว่า โดยทั่วไปนกเงือกสามารถมีอายุยืนยาวได้ถึง 30 ปี และแต่ละตัวสามารถช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้มากกว่า 100 เมล็ดต่อสัปดาห์ หากไม้เหล่านี้สามารถเจริญเป็นไม้ใหญ่ได้เพียง 5 เปอร์เซ็นต์ หนึ่งชีวิตของนกเงือกจะสามารถปลูกไม้สำคัญของป่าได้ถึง 500,000 ต้น ถ้าป่าไหนมีนกเงือกอยู่ถึง 500 ตัว ป่าเหล่านั้นจะไม่เป็นป่าที่สมบูรณ์ได้อย่างไร
เราสามารถหาชมนกเงือกได้ทั่วไปตามสวนสัตว์ต่างๆ และที่ "อุทยานหินล้านปีและฟาร์มจระเข้พัทยา" มีนกเงือกให้ชมถึง 2 ชนิด มี "นกเงือกหัวแรด" และ "นกกก"

นกอีมู

นกที่เคยต่อสู้กับมนุษย์

นกอีมู (Common Emu) เป็นนกประจำถิ่นของออสเตรเลีย มันเป็นญาติกับนกกระจอกเทศ แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยนกชนิดนี้ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของออสเตรเลีย แล้วทำไมมนุษย์ต้องไปต่อสู้กับเจ้านกอีมูกันหล่ะ.......
เรื่องราวเริ่มหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 นกอีมูจำนวน 20,000ตัว บุกมาทำลายพืชไร่ของเกษตรกรในพื้นที่ สร้างความเสียหายเป็นจำนวนมาก แล้วหน่วยงานท้องถิ่นสั่งใช้อาวุธปืนสังหารนกเหล่านั้น แต่แล้วสภาพอากาศไม่เป็นใจ เพราะฝนตกลงมาอย่างหนักในพื้นที่ ฝูงนกอีมูจึงกระจายตัวกันออกไปทั่ว นกยักษ์อยู่ไม่เป็นกลุ่มก้อน จึงทำให้ยากต่อการควบคุม สภาท้องถิ่นรายงานว่า ใช้กระสุนไป 9,860 นัด สังหารนกได้ 986 ตัว เฉลี่ยแล้วใช้กระสุน 10 นัดต่อนก 1 ตัว สำหรับชาวออสเตรเลีย ต้องยอมรับว่าการรบครั้งนี้ไม่สามารถเอาชนะฝูงนกอีมูได้ เลยกลายเป็นเรื่องล้อเลียน หยอกล้อ เฮฮากันมาจนถึงทุกวันนี้

“คนออสเตรเลียยกย่องนกอีมูและให้เกียรตินกอีมู เป็นสัตว์ที่ปรากฏบนสัญลักษณ์ของประเทศออสเตรเลียคู่กับจิงโจ้ (ตราแผ่นดินของออสเตรเลีย)”

นกคาสโซวารี่

นกที่อันตรายที่สุดในโลก!!!

นกโหดๆ มีแรงถีบเป็นอาวุธประจำตัวและยังไม่สูญพันธุ์ นกชนิดนี้มีชื่อว่า "นกคาสโซวารี่" นกคาสโซวารี่เป็นสัตว์ที่มีถิ่นกำเนิดใน ทวีปออสเตรเลีย และในประเทศปาปัวนิวกินี เป็นนกในตระกูลเดียวกับนกอีมู แต่มีขนาดใหญ่กว่านกชนิดนี้มีแรงเตะมหาศาลและตามมาด้วยเล็บนิ้วเท้า 3 นิ้วที่แหลมคมมาก ทำให้ชนเผ่าพื้นเมืองให้ความเคารพนกชนิดนี้ และพยายามหลีกเลี่ยงไม่เข้าไปยุ่งด้วย เพราะหมายถึงชีวิต

นกตะกราม

สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ของโลก!!!

"นกตะกราม"Greater Adjutant เป็นนกกระสาขนาดใหญ่ที่เคยมีถิ่นกระจายพันธุ์ทั่วเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชอบหากินอยู่ตามหนองน้ำ ทุ่งนา ทะเลสาบ ที่โล่ง แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นหนึ่งในนกที่ใกล้สูญพันธุ์ในระดับโลก ในประเทศไทยแทบไม่พบนกตะกรามในธรรมชาติ

นกเงือก

สัญลักษณ์แห่ง "รักแท้"

“นกเงือก” เป็นสัญลักษณ์แห่ง " รักแท้ "เพราะเมื่อนกเงือกจับคู่ผสมพันธุ์กันแล้ว จะผูกพันกันแค่ 2 ตัวตลอดชีวิต จะใช้ชีวิตคู่แบบ "ผัวเดียวเมียเดียว" จนแก่เฒ่าหรือกว่าจะตายจากกัน และตัวผู้ยังมีลักษณะของหัวหน้าครอบครัวที่ดี คอยหาอาหารให้และคอยดูแลปกป้องลูกนกและแม่นกให้ปลอดภัย
ปัจจุบันนกเงือกในประเทศไทยมีทั้งหมด 13 สายพันธุ์ จากทั้งหมดกว่า 54 สายพันธุ์ที่มีอยู่ทั่วโลกแล้วที่ทุกท่านเห็นอยู่นี่คือ "นกกก"(นก-กก) เป็นนกที่มีลำตัวขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มนกเงือก 13 ชนิดที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย มีลำตัวยาวจากหางถึงปาก อาจจะถึง 150 ซม. น้ำหนักหลายกิโลกรัม เป็นนกที่มีอายุยืนได้ถึง 30-40 ปี

เสือโคร่งขาว

เสือโคร่งขาวมีนัยย์ตาสีฟ้า บางตัวอาจมีตาสีเขียว สีเหลืองอำพัน จมูกสีชมพู ส่วนมากจะตัวใหญ่กว่า หนักกว่า เติบโตเร็วกว่าเสือโคร่งปกติ นอกจากนี้ลูกแรกเกิดของเสือขาวก็มีแนวโน้มตัวใหญ่กว่าด้วย เสือโคร่งขาวเพศผู้จะโตเต็มที่เมื่อมีอายุ 2-3 ปี น้ำหนัก 200-230 กิโลกรัม ความยาว 3 เมตร และก็เหมือนเสือโคร่งทั่วไป ลายของเสือโคร่งขาวแต่ละตัวจะมีรูปแบบลายไม่ซ้ำกัน ลายที่เราเห็นเป็นลายที่อยู่ในชั้นของผิวหนังแม้จะโกนขนออก ลายก็ยังคงอยู่บนหนังเสือ
แม้ว่าเสือโคร่งขาวเป็นเสือที่หาได้ยากมากในธรรมชาติปัจจุบันยังมีรายงานการพบเสือขาวในป่าของอินเดีเป็นระยะๆ เสือโคร่งขาวส่วนมากจะได้รับการเลี้ยงดูและขยายพันธุ์ในสวนสัตว์ต่างๆ

ยีราฟ

ทำไมยีราฟถึงคอยาว ???

ยีราฟซึ่งเป็นสัตว์ที่มีลักษณะที่โดดเด่นที่สุดชนิดหนึ่งในโลก มีคอที่ยาวอย่างน่าอัศจรรย์ ได้ถึง 2 เมตรเลยทีเดียว แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือ ยีราฟนั้นมีจำนวน กระดูกสันหลังส่วนคอ เท่ากับมนุษย์ ยีราฟสามารถยืดคอไปเหนือยอดไม้เพื่อกินใบไม้อ่อนๆ และช่วยให้มันมองเห็นสัตว์นักล่าจากระยะไกลอีกด้วย ยีราฟใช้ขาอันทรงพลังของมันเตะอย่างรุนแรง เพื่อใช้ป้องกันตัว

ตะโขง

สัตว์หายาก!!!

“ตะโขง” หนึ่งในสัตว์เลื้อยคลานที่คนไทยรู้จักกันมานาน จากคำว่า “ไอ้เข้ ไอ้โขง”...เรามักจะเห็นกันแต่จระเข้ น้อยคนมากจะเคยได้เห็น“ตะโขง”ตัวจริงในธรรมชาติเพราะตะโขงเป็นสัตว์หายากและใกล้สูญพันธุ์ของประเทศไทยมานานแล้ว
เนื่องจากถิ่นที่อาศัยดั้งเดิม ซึ่งเป็นป่าโกงกางธรรมชาติบริเวณปากแม่น้ำติดทะเล ถูกทำลายมาสร้างบ้านแปงเมืองไปจนหมด ปัจจุบันแทบไม่เหลือป่าโกงกางดั้งเดิมในธรรมชาติแล้ว อาจจะยังคงมีเหลือตกค้างอยู่บ้างในภาคใต้ตอนล่าง ทางฝั่งทะเลอันดามัน

ม้าลาย

ม้าลายตัวสีขาวสลับดำ หรือสีดำสลับขาว???

ม้าลายเป็นม้าสีดำที่มีลายสีขาวแรกเริ่มเดิมทีนั้นม้าลายมีตัวเป็นสีดำ ลายสีขาวมีแค่เล็กน้อยเท่านั้น จนกระทั่งย้อนไปเมื่อหลายร้อยปีก่อน เมื่อสีดำถูกดึงดูดสัตว์นักล่าตัวอื่นๆ ม้าลายจึงมีวิวัฒนาการ ลายขาวเพิ่มมากขึ้น เพื่อใช้ในการพรางตัวนั่นเอง