Welcomes a Couple of White Tigers

Image
  • Our wild animals on the farm all live comfortably in their separate spacious areas.

  • Thousands of crocodiles, both saltwater and freshwater, living in shady natural surroundings

  • Giant catfish, the biggest freshwater fish of the world weighing up to 500 kg. (average 100 kg. on Farm)

  • A shoal of snakehead fish of the Amazon River

  • The intelligent albino bear and other albino animals- horses, cows, crocodiles

  • Elephants, camels, tigers, white tigers, bears, several species of deer, etc.

  • Eastern Sarus Cranes, emus, cassowaries and ostriches

  • Thepha fish, a most graceful but endangered species of Thailand
Image

Other Members

Image

"Doctor Crocodile"

"Doctor Crocodile"

Giraffe Birth in Our Farm

Foal Birth in Our Farm

Various Wild Animals

ปลาบึก

ปลาบึก เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ ไม่มีเกล็ด สามารถโตได้ถึง 3 เมตร และหนัก 150-200 กิโลกรัม หรืออาจจะมากกว่านั้น ปลาบึกได้รับฉายาว่า "ราชินีแห่งแม่น้ำโขง" เพราะมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแม่น้ำโขง ชอบบริเวณแม่น้ำที่มีความลึกมากกว่า 10 เมตร พื้นท้องน้ำเป็นกรวดและมีเพิงหินหรือถ้ำใต้น้ำ เป็นปลาที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากการจับปลามากเกินไป คุณภาพน้ำที่แย่ลงจากการพัฒนาและการสร้างเขื่อนบริเวณต้นน้ำ

ปลาบึกมีนิสัยรักสงบ ตื่นตกใจง่าย ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณเขตน้ำลึกที่มีกระแสน้ำไหล อาหารของปลาบึกในธรรมชาติคือพืชชนิดต่างๆ เช่น ตะไคร่น้ำ สาหร่ายที่ขึ้นอยู่ตามก้อนหินใต้น้ำ

เนื้อปลาบึกมีราคาซื้อขายที่แพง เนื่องจากเป็นปลาที่ไม่ได้มีการเพาะเลี้ยง ได้มาจากการจับในฤดูกาลเท่านั้น และยังมีความเชื่ออีกว่าเมื่อได้รับประทานเนื้อปลาบึกแล้วจะมีอายุยืนยาว เนื้อของปลาบึกนั้นจะมีลักษณะคล้ายกับหมูสามชั้น มีชั้นของหนัง, ไขมัน และเนื้อ และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย

อุทยานหินล้านปีและฟาร์มจระเข้พัทยาได้เล็งเห็นถึงความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของปลาบึก จึงนำมาเพาะเลี้ยงที่นี่จำนวนมาก เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้าชมและสัมผัสชีวิตของปลาบึก อุทยานหินล้านปีและฟาร์มจระเข้พัทยาจึงเป็นที่เที่ยวในพัทยาอีกแห่งหนึ่งที่ไม่ควรพลาด

ปลาเทพา

นอกจากปลาบึก “ราชินีแห่งลุ่มแม่น้ำโขง” แล้ว อุทยานหินล้านปีและฟาร์มจระเข้พัทยายังเพาะเลี้ยงปลาเทพาหรือ “เจ้าแห่งแม่น้ำเจ้าพระยา” อีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันหาได้ยากมากในแหล่งน้ำธรรมชาติ เนื่องจากการทำประมงเกินขนาดและมลพิษทางน้ำ เช่นเดียวกับปลาบึก

ปลาเทพา หรือที่ในภาษาอีสานเรียกว่า ปลาเลิม เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ ไม่มีเกล็ด ปากกว้าง เป็นปลากินเนื้อ พบเฉพาะในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำโขงเท่านั้น

ปลาเทพาได้รับฉายาว่า "เจ้าแห่งแม่น้ำเจ้าพระยา" เนื่องจากเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในลุ่มแม่น้ำสายนี้ โดยเมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 1–1.25 เมตร ขนาดใหญ่สุดพบยาวกว่า 3 เมตร และมีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม ทั้งยังมีลักษณะโดดเด่นตรงที่มีก้านครีบขนาดใหญ่และปลายครีบเป็นเส้นยาว เวลาว่ายน้ำจะตั้งชันเหมือนครีบปลาฉลาม ทำให้ปลาชนิดนี้ดูสง่างามกว่าปลาชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน

ปลาเทพามีนิสัยรักสงบ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ปกติจะว่ายน้ำตลอดเวลา ชอบน้ำที่ใสสะอาดมีการไหลเวียนอย่างดี ปลาวัยอ่อนกินปลาเล็กเป็นอาหาร ปลาวัยโตกินซากสัตว์อื่นและปลาเล็ก

เนื้อปลาเทพามักถูกนำมาขายแทนเนื้อปลาบึก ซึ่งหายากและมีราคาแพงกว่า แต่เป็นปลาที่มีกลิ่นคาวจัด นอกจากนี้แล้วยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นปลาเทพาพิการที่ลำตัวสั้นกว่าปกติจะมีราคาสูงมาก

มาพักผ่อนหย่อนใจ ชมปลาเทพาและสัตว์นานาชนิด รวมทั้งพรรณไม้และหินรูปร่างแปลกตาต่างๆ กับอุทยานหินล้านปีและฟาร์มจระเข้พัทยา สถานที่ท่องเที่ยวในพัทยาที่เหมาะกับทุกคนในครอบครัว

" นกกาบบัว " นกที่หายากในธรรมชาติ

นกกาบบัว (Painted Stork) เป็นนกขนาดใหญ่มาก ความยาวจากปลายปากถึงปลายหาง 100 - 102 ซม. ปากยาวตอนปลายปากมักมนและโค้งลงเล็กน้อย หัวเล็ก คอค่อนข้างยาวปีกกว้างและยาว หางสั้น ขายาว นกทั้งสองเพศสีสันคล้ายกัน นกที่เต็มวัยปากสีเหลือง ลำตัวสีขาวบริเวณปีกมีแถบสีชาวสลับดำอกและปลายปีกมีแถบสีดำขนโคนปีก ขนคลุมขนปีกแถวนอกและขนบริเวณตะโพกเป็นสีชมพูขอบขนแต่ละเส้นเป็นสีขาว ขนชมพูอมขาวนี้ยาออกไปจนถึงตะโพกและหามองดูเผินๆคล้ายกับว่าใครเอาสีชมพูสดๆมาแต่งแต้มไว้
ปัจจุบัน "นกกาบบัว" เป็นนกที่หาได้ยากมากๆ ในธรรมชาติเพราะแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารถูกทำลายโดยมนุษย์ ทำให้นกกาบบัวต้องอพยพไปหาแหล่งที่อยู่ใหม่ และจะกลับมาแค่ฤดูผสมพันธุ์ พบเฉพาะทางภาคตะวันตก ภาคกลาง และ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือบางส่วน แต่จากการศึกษานกกาบบัว บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง พบการทำรังวางไข่บริเวณดังกล่าว ดังนั้น นกกาบบัว น่าจะกระจายพันธุ์ทางภาคใต้ได้ด้วย

" นกตะกรุม " นกใหญ่ที่ใกล้สูญพันธุ์

นกตะกรุม เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ที่ใกล้จะสูญพันธุ์จำเป็นต้องอนุรักษ์เอาไว้ เพราะเป็นตัวแปรที่บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ นกตะกรุมเป็นนกที่หาได้ยากมากในประเทศไทย เดิมเคยมีรายงานพบที่ จังหวัดศรีสะเกษ, ราชบุรี, ชุมพร, ตรัง, ประจวบคีรีขันธ์ และนราธิวาส

นกตะกรุมมีรูปร่างคล้ายคลึงกับนกตะกราม แต่มีขนาดเล็กกว่า และไม่มีถุงใต้คอ ขณะยืนมีความสูงบนหัวประมาณ 110 – 120 ซม. ความกว้างของปีกทั้งสองข้างประมาณ 210 ซม. ลำตัวด้านบนสีดำเหลือบเป็นมัน ใต้ท้องสีออกขาว มีจุดเด่น คือ ส่วนหัวและลำคอเป็นหนังสีเหลืองแกมแดง มีขนเป็นเส้นๆ ขึ้นกระจายอยู่ห่างๆ นกตะกรุม เป็นนกที่หากินสัตว์เล็กๆ ตามแหล่งน้ำเป็นอาหาร เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา มีพฤติกรรมทำรังบนยอดไม้สูง ตามป่าชายเลนหรือป่าริมน้ำร่วมกับนกตะกรามและนกกระทุง

" นกยูงไทย - นกยูงอินเดีย " ต่างกันอย่างไร

นกยูงไทยกับนกยูงอินเดีย มักถูกเรียกรวมๆว่า "นกยูง" แม้จะเป็นนกชนิดเดียวกันแต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง
"นกยูงไทย"หรือนกยูงสีเขียว จัดเป็นไก่ฟ้าขนาดใหญ่ที่พบในเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นญาติใกล้ชิดกับ"นกยูงอินเดีย" นกยูงไทยตัวผู้จะมีหงอนเป็นพู่สูงและมีแผ่นหนังที่หน้าสีฟ้าสลับสีเหลืองที่เห็นได้ชัดเจน ขนลำตัวมีสีเขียวเป็นประกาย ขนคุลมโคนหางยื่นออกมายาว มีสีเขียวและมีจุดดวงตากลมมีฟ้าและน้ำเงิน ส่วนนกยูงตัวเมียมีลักษณะทั่วไปคล้ายนกตัวผู้ แต่ขนสีเหลือบเขียวจะน้อยกว่า ขนคลุมหางก็สั้นกว่า
"นกยูงอินเดีย"หรือนกยูงสีน้ำเงิน จัดเป็นนกยูงชนิดหนึ่งที่กระจายพันธู์ในประเทศอินเดีย,เนปาล,บังกลาเทศ,ภูฏาน,ศรีลังกาและปากีสถานนกยูงอินเดียจะมีขนาดเล็กกว่านกยูงไทย แต่จะมีขนหงอนเป็นรูปพัด สีของผิวหนังบริเวณหน้าจะมีสีขาวและสีดำบริเวณตา ขนที่คอและลำดับเป็นสีน้ำเงิน

นกยูงทั้ง2ชนิดสามารถหาชมได้ตามสวนสัตว์ทั่วไป และที่ #อุทยานหินล้านปีและฟาร์มจระเข้พัทยา ก็มีนกยูงคอยให้บริการนักท่องเที่ยวได้รับชม

" นกแก้วมาคอร์ " ยักษ์ใหญ่แห่งโลกนกแก้ว

นกแก้วมาคอร์ เป็นนกแก้วที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เป็นนกที่รู้จักกันในนามยักษ์ใหญ่แห่งโลกนกแก้ว โดยมีความยาวเกือบ 40 นิ้ว หนักถึง 2 กิโลกรัม และเป็นนกที่มีอายุยืนยาว อายุขัยเฉลี่ย 30-50 ปี บางตัวอยู่ได้ถึง 80 ปี นกแก้วมาคอร์มีถิ่นกำเนิดในภาคใต้ของอเมริกาเหนือ (เม็กซิโก) รวมถึงอเมริกากลางและอเมริกาใต้
เมื่อ100 ปีก่อนนี้ ชนเผ่าพื้นเมืองอะเมซอนและนักเดินเรือสินค้า เริ่มจับลูกนกป่าออกมาขาย และนำมาเพาะพันธุ์ในกรงเลี้ยงได้สำเร็จ จนในปัจจุบันเป็นนกที่ได้รับความนิยมนำมาเลี้ยงมาก เพราะเป็นนกที่มีสีสันสวยงาม สีสด และฉูดฉาด ใครพบเห็นจะหลงเสน่ห์แทบทั้งสิ้น

นกเงือกนักปลูกป่า

“นกเงือกในไทย” ได้รับฉายา “นักปลูกป่า” ในระบบนิเวศทางธรรมชาติของบ้านเรา จากพฤติกรรมการกินผลไม้ที่หลากหลาย ซึ่งบางครั้ง “เมล็ดพันธุ์” ที่นกเงือกกักตุนไว้เป็นอาหารในปาก ก็มีการหลุดรอดลงสู่ผืนป่า ระหว่างการบินกลับมายังรังของตัวเอง ทำให้เป็นการกระจายเมล็ดพันธุ์ใหม่ ๆ จนเกิดการรักษาความหลากหลายของพันธุ์ไม้ในผืนป่าไปในตัว
นกเงือกกินลูกไม้ของต้นไม้ในสังคมป่าเขตร้อนมากกว่า 100 ชนิด ลองคิดดูว่า โดยทั่วไปนกเงือกสามารถมีอายุยืนยาวได้ถึง 30 ปี และแต่ละตัวสามารถช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้มากกว่า 100 เมล็ดต่อสัปดาห์ หากไม้เหล่านี้สามารถเจริญเป็นไม้ใหญ่ได้เพียง 5 เปอร์เซ็นต์ หนึ่งชีวิตของนกเงือกจะสามารถปลูกไม้สำคัญของป่าได้ถึง 500,000 ต้น ถ้าป่าไหนมีนกเงือกอยู่ถึง 500 ตัว ป่าเหล่านั้นจะไม่เป็นป่าที่สมบูรณ์ได้อย่างไร
เราสามารถหาชมนกเงือกได้ทั่วไปตามสวนสัตว์ต่างๆ และที่ "อุทยานหินล้านปีและฟาร์มจระเข้พัทยา" มีนกเงือกให้ชมถึง 2 ชนิด มี "นกเงือกหัวแรด" และ "นกกก"

นกอีมู

นกที่เคยต่อสู้กับมนุษย์

นกอีมู (Common Emu) เป็นนกประจำถิ่นของออสเตรเลีย มันเป็นญาติกับนกกระจอกเทศ แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยนกชนิดนี้ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของออสเตรเลีย แล้วทำไมมนุษย์ต้องไปต่อสู้กับเจ้านกอีมูกันหล่ะ.......
เรื่องราวเริ่มหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 นกอีมูจำนวน 20,000ตัว บุกมาทำลายพืชไร่ของเกษตรกรในพื้นที่ สร้างความเสียหายเป็นจำนวนมาก แล้วหน่วยงานท้องถิ่นสั่งใช้อาวุธปืนสังหารนกเหล่านั้น แต่แล้วสภาพอากาศไม่เป็นใจ เพราะฝนตกลงมาอย่างหนักในพื้นที่ ฝูงนกอีมูจึงกระจายตัวกันออกไปทั่ว นกยักษ์อยู่ไม่เป็นกลุ่มก้อน จึงทำให้ยากต่อการควบคุม สภาท้องถิ่นรายงานว่า ใช้กระสุนไป 9,860 นัด สังหารนกได้ 986 ตัว เฉลี่ยแล้วใช้กระสุน 10 นัดต่อนก 1 ตัว สำหรับชาวออสเตรเลีย ต้องยอมรับว่าการรบครั้งนี้ไม่สามารถเอาชนะฝูงนกอีมูได้ เลยกลายเป็นเรื่องล้อเลียน หยอกล้อ เฮฮากันมาจนถึงทุกวันนี้

“คนออสเตรเลียยกย่องนกอีมูและให้เกียรตินกอีมู เป็นสัตว์ที่ปรากฏบนสัญลักษณ์ของประเทศออสเตรเลียคู่กับจิงโจ้ (ตราแผ่นดินของออสเตรเลีย)”

นกคาสโซวารี่

นกที่อันตรายที่สุดในโลก!!!

นกโหดๆ มีแรงถีบเป็นอาวุธประจำตัวและยังไม่สูญพันธุ์ นกชนิดนี้มีชื่อว่า "นกคาสโซวารี่" นกคาสโซวารี่เป็นสัตว์ที่มีถิ่นกำเนิดใน ทวีปออสเตรเลีย และในประเทศปาปัวนิวกินี เป็นนกในตระกูลเดียวกับนกอีมู แต่มีขนาดใหญ่กว่านกชนิดนี้มีแรงเตะมหาศาลและตามมาด้วยเล็บนิ้วเท้า 3 นิ้วที่แหลมคมมาก ทำให้ชนเผ่าพื้นเมืองให้ความเคารพนกชนิดนี้ และพยายามหลีกเลี่ยงไม่เข้าไปยุ่งด้วย เพราะหมายถึงชีวิต

นกตะกราม

สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ของโลก!!!

"นกตะกราม"Greater Adjutant เป็นนกกระสาขนาดใหญ่ที่เคยมีถิ่นกระจายพันธุ์ทั่วเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชอบหากินอยู่ตามหนองน้ำ ทุ่งนา ทะเลสาบ ที่โล่ง แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นหนึ่งในนกที่ใกล้สูญพันธุ์ในระดับโลก ในประเทศไทยแทบไม่พบนกตะกรามในธรรมชาติ

นกเงือก

สัญลักษณ์แห่ง "รักแท้"

“นกเงือก” เป็นสัญลักษณ์แห่ง " รักแท้ "เพราะเมื่อนกเงือกจับคู่ผสมพันธุ์กันแล้ว จะผูกพันกันแค่ 2 ตัวตลอดชีวิต จะใช้ชีวิตคู่แบบ "ผัวเดียวเมียเดียว" จนแก่เฒ่าหรือกว่าจะตายจากกัน และตัวผู้ยังมีลักษณะของหัวหน้าครอบครัวที่ดี คอยหาอาหารให้และคอยดูแลปกป้องลูกนกและแม่นกให้ปลอดภัย
ปัจจุบันนกเงือกในประเทศไทยมีทั้งหมด 13 สายพันธุ์ จากทั้งหมดกว่า 54 สายพันธุ์ที่มีอยู่ทั่วโลกแล้วที่ทุกท่านเห็นอยู่นี่คือ "นกกก"(นก-กก) เป็นนกที่มีลำตัวขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มนกเงือก 13 ชนิดที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย มีลำตัวยาวจากหางถึงปาก อาจจะถึง 150 ซม. น้ำหนักหลายกิโลกรัม เป็นนกที่มีอายุยืนได้ถึง 30-40 ปี

เสือโคร่งขาว

เสือโคร่งขาวมีนัยย์ตาสีฟ้า บางตัวอาจมีตาสีเขียว สีเหลืองอำพัน จมูกสีชมพู ส่วนมากจะตัวใหญ่กว่า หนักกว่า เติบโตเร็วกว่าเสือโคร่งปกติ นอกจากนี้ลูกแรกเกิดของเสือขาวก็มีแนวโน้มตัวใหญ่กว่าด้วย เสือโคร่งขาวเพศผู้จะโตเต็มที่เมื่อมีอายุ 2-3 ปี น้ำหนัก 200-230 กิโลกรัม ความยาว 3 เมตร และก็เหมือนเสือโคร่งทั่วไป ลายของเสือโคร่งขาวแต่ละตัวจะมีรูปแบบลายไม่ซ้ำกัน ลายที่เราเห็นเป็นลายที่อยู่ในชั้นของผิวหนังแม้จะโกนขนออก ลายก็ยังคงอยู่บนหนังเสือ
แม้ว่าเสือโคร่งขาวเป็นเสือที่หาได้ยากมากในธรรมชาติปัจจุบันยังมีรายงานการพบเสือขาวในป่าของอินเดีเป็นระยะๆ เสือโคร่งขาวส่วนมากจะได้รับการเลี้ยงดูและขยายพันธุ์ในสวนสัตว์ต่างๆ

ยีราฟ

ทำไมยีราฟถึงคอยาว ???

ยีราฟซึ่งเป็นสัตว์ที่มีลักษณะที่โดดเด่นที่สุดชนิดหนึ่งในโลก มีคอที่ยาวอย่างน่าอัศจรรย์ ได้ถึง 2 เมตรเลยทีเดียว แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือ ยีราฟนั้นมีจำนวน กระดูกสันหลังส่วนคอ เท่ากับมนุษย์ ยีราฟสามารถยืดคอไปเหนือยอดไม้เพื่อกินใบไม้อ่อนๆ และช่วยให้มันมองเห็นสัตว์นักล่าจากระยะไกลอีกด้วย ยีราฟใช้ขาอันทรงพลังของมันเตะอย่างรุนแรง เพื่อใช้ป้องกันตัว

ตะโขง

สัตว์หายาก!!!

“ตะโขง” หนึ่งในสัตว์เลื้อยคลานที่คนไทยรู้จักกันมานาน จากคำว่า “ไอ้เข้ ไอ้โขง”...เรามักจะเห็นกันแต่จระเข้ น้อยคนมากจะเคยได้เห็น“ตะโขง”ตัวจริงในธรรมชาติเพราะตะโขงเป็นสัตว์หายากและใกล้สูญพันธุ์ของประเทศไทยมานานแล้ว
เนื่องจากถิ่นที่อาศัยดั้งเดิม ซึ่งเป็นป่าโกงกางธรรมชาติบริเวณปากแม่น้ำติดทะเล ถูกทำลายมาสร้างบ้านแปงเมืองไปจนหมด ปัจจุบันแทบไม่เหลือป่าโกงกางดั้งเดิมในธรรมชาติแล้ว อาจจะยังคงมีเหลือตกค้างอยู่บ้างในภาคใต้ตอนล่าง ทางฝั่งทะเลอันดามัน

ม้าลาย

ม้าลายตัวสีขาวสลับดำ หรือสีดำสลับขาว???

ม้าลายเป็นม้าสีดำที่มีลายสีขาวแรกเริ่มเดิมทีนั้นม้าลายมีตัวเป็นสีดำ ลายสีขาวมีแค่เล็กน้อยเท่านั้น จนกระทั่งย้อนไปเมื่อหลายร้อยปีก่อน เมื่อสีดำถูกดึงดูดสัตว์นักล่าตัวอื่นๆ ม้าลายจึงมีวิวัฒนาการ ลายขาวเพิ่มมากขึ้น เพื่อใช้ในการพรางตัวนั่นเอง